ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยไหนเชื่อว่าต้องเคยเผชิญปัญหากับการเก็บเงินไม่อยู่ ได้รับเงินมาเท่าไรก็ใช้หมดหรือไม่ก็เหลือเก็บน้อยมากๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากมีปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเกิดขึ้นก็อาจจะทำให้เดือดร้อนได้
ไอเดียเก็บเงินแบบคูลๆ ฉบับคนรุ่นใหม่
ทั้งนี้การเก็บเงินนั้นจะต้องอาศัยความมีวินัยในตนเองและการตัดกิเลส หรือความโลภที่อยากได้ของนั่นโน่นนี่ หากยังตัดไม่ได้ก็ให้พยายามลดเชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้อย่างแน่นอน วันนี้แคมปัส-สตาร์ก็มีวิธีการเก็บเงินแบบคูลๆ ในสไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่อาจจะช่วยคุณให้เก็บเงินไว้ใช้ในอนาคตหรือยามเดือดร้อนได้
เก็บเงินแบบคลาสสิค
วิธีการเก็บเงินแบบคลาสสิค คือการเก็บเงินโดยจะต้องกำหนดว่าจะเก็บวันละเท่าไร เช่น ต่อไปนี้จะเก็บเงินวันละ 10 บาท ก็จะต้องเก็บเงินให้ได้วันละ 10 บาท โดยอาจจะหยอดกระปุกออมสินหรือกระป๋องเงิน แต่วิธีนี้จะต้องอาศัยระเบียบวินัยในตัวเองอย่างมากๆๆๆๆ เพราะไม่มีใครมากำหนดหรือบังคับเราให้เก็บเงินหรือบางครั้งลืมเก็บเงินในวันนั้นๆ
ภาพจาก pexels.com
เก็บเฉพาะแบงค์ 50 บาท
วิธีออมเงินโดยเก็บเฉพาะแบงค์ 50 บาท เป็นวิธีที่มีหลายคนใช้แล้วและได้ผลดีทีเดียว ไม่ว่าคุณจะไปจ่ายตลาด แตกแบงค์หรือแลกเงิน หากคุณได้รับแบงค์ 50 บาทมาไว้ในมือแล้วล่ะก็ เป็นอันรู้กันระหว่างตัวคุณเองและแบงค์ 50 บาทว่าคุณจะไม่มีโอกาสได้ใช้มันอีกต่อไป คุณจะต้องนำเจ้าแบงค์สีฟ้าเก็บเข้ากระปุกออมสิน วิธีนี้ให้คุณใช้การคุยกับตัวเองหรือกำหนดตัวเองว่า ห้ามใช้ ห้ามใช้ ห้ามใช้
แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียอยู่หนึ่งอย่าง คือถ้าเกิคในวันนั้นคุณได้รับเงินทอนจากการซื้อสินค้าเป็นแบงค์ 50 จำนวน 3 ใบ นั่นหมายความว่าคุณจะต้องออมเงินในวันนั้นจำนวน 150 บาท!!!! แต่ก็ไม่เป็นไรนะคะเพราะวันนั้นไม่ได้มีบ่อยๆ เนอะ ^^
ภาพจาก board.postjung.com, FB: Mayme Kansamart
เก็บเงินตามวัน รวมทั้งปี
หลายคนอาจเคยเห็นวิธีนี้ในโลกโซเชียล เป็นวิธีวัยรุ่นและคนส่วนใหญ่ใช้เพราะเป็นสามารถเก็บเงินได้เงินเยอะ โดยมีวิธีการเก็บเงินที่ไม่ซับซ้อนมากนักแต่ต้องอาศัยความจำนิดหน่อย คือการออมเงินโดยนับจำนวนวันรวมทั้งปีไปเรื่อยๆ หรือเพิ่มขึ้นวันละ 1 บาทไปเรื่อยๆ จนถึงวันสิ้นปี เช่น วันที่ 1 มกราคม ออมเงิน 1 บาท วันที่ 2 ออมเงิน 2 บาท … วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ออมเงิน 32 บาท ไปเรื่อยๆ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมากๆ แต่ยังมีข้อเสียอยู่ เช่น ในช่วงแรกๆ คุณไม่มีปัญหาในการออมเงินอยู่แล้วเพราะเงินที่ออมนั้นมีจำนวนไม่มาก แต่หากเป็นช่วงเกือบปลายปี คุณอาจต้องออมเงินถึงวันละ 200 กว่าบาท ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณท้อกลางทางก็เป็นได้
ภาพจาก FB: GLER, pexels.com
เก็บเงินตามวันที่ในปฏิทิน
การเก็บเงินตามวันที่ในปฏิทิน คือการเก็บเงินตามในวันที่ปฏิทินโดยไม่ต้องคำนึงถึงเดือนหรืออะไรทั้งสิ้น เช่น วันที่ 31 มกราคม ออมเงินจำนวน 31 บาท แต่พอเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก็ออมเงินจำนวน 1 บาท วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ออมจำนวน 2 บาท เป็นต้น
วิธีนี้คล้ายกับการเก็บเงินตามวันรวมทั้งปี แต่จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องมานึกหรือนั่งนับว่าเมื่อวานเก็บไปเท่าไรแล้ว แต่คุณแค่หันไปมองปฏิทินว่าวันนี้วันที่เท่าไรแล้วก็ออมเงินจำนวนเท่านั้นเลย ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะออมเงินได้ไม่มากนักแต่ก็มีส่วนช่วยให้คุณมีเงินเก็บได้นะคะ
ภาพจาก pexels.com